ถุงลามิเนต หรือ ซองลามิเนต (Laminated Pouch)
ถุงลามิเนต หรือ ซองลามิเนต ที่ได้รับความนิยม ใช้งานจากผู้บริโภคอย่างมาก เพราะ ถุงลามิเนต มีคุณสมบัติที่ดีคือ มีความเหนียว ทนต่อแรงกระแทก แรงดึงได้อย่างดี กันความชื้น ทนไขมัน และทนต่อแสง ซองลามิเนต ทนต่อการฉีกขาด ทั้งยังมีผิวที่เงาสวยงาน ไม่ลอกง่าย เก็บกลิ่นได้อีกด้วย และด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้ ซองลามิเนต ช่วยยืดอายุของอาหาร และ ยังช่วยป้องกันอาหารไม่ให้เสื่อมคุณภาพเร็วเกินไป ซองลามิเนต ยังช่วยถนอมอาหารได้ดีอีกด้วย
ถุงลามิเนต มีโครงสร้างการผลิต
ซองลามิเนต หรือ ถุงลามิเนต คือถุงพลาสติกที่มีการผลิต ซับซ้อน กว่า ถุงธรรมดา ทั่วไป โดยจะมีโครงสร้าง องค์ประกอบหลากหลาย ดังเช่น Nylon, PE, PET, CPP, HDPE, LLDPE, LDPD และขั้นตอนการผลิตก็มีการผลิตซองลามิเนต หลายๆชั้น ตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป เช่น เนื้อ OPP+LLDPE , PET+LLDPE , Nylon+LLDPE , OPP+CPP , PET+CPP , Nylon+CPP เป็นต้น และคุณสมบัติพลาสติกแต่ละชั้นแต่ละชนิดชนิด จะมีความแตกต่างกัน ทางคุณสมบัติกายภาพ เมื่อนำวัสดุ มาเคลือบติดกัน หลายๆชั้น ( Layer of Laminated film ) เพื่อวัสดุเข้าไปหลายๆ ชั้นนี้จะช่วยเพิ่มคุณสมบัติของ ซองลามิเนต ให้ได้ดีมากยิ่งขึ้น
ซองลามิเนต หรือ ถุงลามิเนต คือ ถุงพลาสติกที่มีฟิลม์พลาสติกหลายชั้นจําพวก Polyester (PET), Metalized Polyester (M-PET), Polyamide (Nylon), Cast polypropylene (CPP), Metalized cast polypropylene (M-CPP), Bi-oriented polypropylene (BOPP), กระดาษหรือแผนอลูมิเนียมฟอยล์มีการพิมพ์ลวดลายด้านหลัง (Reverse print) ของฟิลม์ แล้ว ประกบเข้ากับพลาสติกอีกชั้นหนึ่งอธิเช่น CPP, Polyethylene (HDPE, LLDPE, LDPE) ฯลฯ ซึ่งยึดระหวางชั้นฟิลม์ด้วย ความร้อน หรือกาว (Adhesive) อย่างไรก็ตามจํานวนชั้นฟิลม์มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยูกับตามความต้องการว่าใช้สําหรับ สินค้าประเภทอะไร และสินค้าประเภทดังกล่าวต้องการคุณสมบัติในด้านใดบาง เมื่อทราบความต้องการดังกล่าวแล้ว จึง จะสามารถเลือกประเภทของฟิลม์ ในการ ผลิต ซองลามิเนต ให้เหมาะสม และมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการเพื่อทื่จะทำออกแบบฟิล์มในการผลิต ซองลามิเนตต่อไป
ตัวอย่างประเภทของฟิลม์และวัสดุที่นิยมนํามาผลิตฟิลม์ลามิเนต สําหรับบรรจภุัณฑ์ ซองลามิเนต มีดังนี้
1. ฟิลม์ Polyethylene (PE) ใช้ฟิลม์ LLDPE และฟิลม์ LDPE ในชั้นในสุด ซึ่งเป็นชั้นปิดผนึกหรือเป็นชั้นที่สามารถสัมผัสกับอาหาร โดยปิด ผนึกด้วยความร้อน (Heat Sealing) ฟิลม์ PE มีคุณสมบัติยืดหยุน นิ่ม และยังสามารถต้านทานต่อความชื้น หรือสารเคมี บางประเภท ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เช่น ถุงน้ำตาล, ถุงข้าวสาร, ถุงบรรจุเม็ดพลาสติกเป็นต้น
2. ฟิลม์ Polypropylene (PP) ใช้ฟิลม์ CPP และ ฟิลม์ BOPP ซึ่งมีคุณสมบตัิเดน ด้านใส เงา เหนียว ทนต่อแรงดึง และยังสามารถตานทานต่อ ความชื้นได้ดีโดยส่วนใหญ่ ฟิลม์ CPP และ BOPP ทําหน้าที่เป็นชั้นสำหรับการพิมพ์ลวดลายด้านหลัง ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์เช่น ฟิลม์หุ้มซองบหรุี่
3. ฟิลม์ Polyester (PET) ใช้ฟิลม์ BOPET (Biaxial Oriented Polyethylene Terephthalate) ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น ด้านความใส เงา เรียบ ต้านทาน ต่อการฉีกขาดหรือการกระแทก ทรงรูปได้ ดี และสามารถทนตอความร้อนสูงจึงสามารถใช้ได้กับไมโครเวฟ นอกจากนี้ยังสามารถต้านทานต่อความชื้น สารเคมีหรือตัวทําละลายต่างๆ รวมถึงสามารถป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ ต่างๆ ได้ดีอีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการถนอมและรักษาสินค้า หรืออาหารที่บรรจุอยูภายใน ดังนั้นจึงรักษาความกรอบ ของขนมขบเคี้ยวได้ดีกว่าฟิลม์ BOPP ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น บรรจุภัณฑ์ถุงอาหารขนมขบเคี้ยว, ซองกาแฟ, ซองผงสมุนไพร และ ซองยา